ความคิดสร้างสรรค์


It is time for a change!
I've come to the point where I realise I need to make some changes. I expect this happens to lots of us. You feel like you have done it all before (and maybe lots of other people are now doing it too).
Or you need to make changes simply to develop your career.
I care about learning. So when I feel I have learnt something, 
I want to learn something new.
I am at that point of wanting to learn something new.

There are new challenges ahead.
New way of doing business and new ways to be creative.
I feel excited about this. I want to move in some of these new directions. In order for new beginning to happen something has to end. That is just the way it is. As you know letting go is hard,
and scary. But if you want something new to happen
I think you have to. I think I have to.
The details of my 'new directions' are still a little hazy.
I'm not exactly sure what will end and what will begin?
Mostly this won't happen until next week,
but I am thinking about it now. I'm thinking about it a lot.

คิดแตกต่างอย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผล
        งานที่ผ่านมาของผมส่วนหนึ่งมักสร้างสรรค์ด้วยอารมณ์ภายใต้พื้นฐานของเหตุผลเสมอ เขาบอกว่า อารมณ์ทำให้งานสร้างสรรค์มีจุดยืนเฉพาะตัว มีเสน่ห์ มีความสด แปลกใหม่ ส่วนเหตุผลทำให้งานสร้างสรรค์มีรากฐานและข้อสนับสนุนที่แน่นอน กับมีเป้าหมายที่ชัดเจน สองสิ่งนี้ชอบเดินทางไปด้วยกัน คู่กัน พร้อมๆ กัน มีความสำคัญเท่ากันในการทำงาน แยกจากกันไม่ได้ถ้าสร้างสรรค์งานอย่างเต็มอารมณ์...โดยมีเหตุผลที่ชัดเจนรองรับอยู่เสมอ งานสร้างสรรค์ที่น่าสนใจก็จะตอบสนองจุดมุ่งหมายที่ต้องการเสมอ ความคิดสร้างสรรค์ของเราเองไม่ควรหมด ไม่ควรหยุดนิ่ง อย่าให้อารมณ์หลงพาไปจนสรุปว่า งานชิ้นนี้ดีที่สุด ฝันใหม่ไม่ได้แล้ว ถอยห่างออกมาอีกนิด ลองคิดอีกครั้งด้วยเหตุผล...อาจมีสิ่งที่ดีกว่าเกิดขึ้นใหม่เสมอ
ต้นเหตุของแนวความคิดสร้างสรรค์
        ในเย็นวันหนึ่งหลังจากเลิกงาน ผมก็ได้พบเพื่อนที่ทำงานด้วยกันคนหนึ่งซึ่งมีบุคลิกลักษณะที่ดี มารยาทดี แต่งกายสะอาด พูดจาดี... ผมจะรับรู้ได้ทันทีว่าผู้หญิงคนนี้เป็นคนที่ดี แต่เมื่อพูดคุยกันสักพักหนึ่ง ผมได้กลิ่นเหล้าและบุหรี่จากตัวเธอ การได้รับข้อมูลโดยประสาทสัมผัสของผม จะทำให้ผมสร้างภาพของหญิงคนนี้ขึ้นมาใหม่ และสรุปใหม่ว่าหญิงคนนี้ไม่ได้ดีดังที่ผมได้รับข้อมูลมาในตอนแรก ดังนั้น ผมจะได้เห็นว่าภาพของหญิงคนนี้จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ผ่านกระบวนการในการรับรู้และความเข้าใจ  ผมต้องยอมรับว่ามีการใช้ความคิดอยู่เสมอ และผมสามารถที่จะให้ผลลัพธ์แห่งการคิดของผมกับคนอื่น แต่ผมไม่สามารถที่จะให้ความสามารถในการคิดกับคนอื่นได้  ดังนั้น การใช้ความคิดเป็นความพยายามของแต่ละคน ซึ่งเราสามารถเพิ่มเติมประสิทธิ์ภาพในการคิดสร้างสรรค์ได้โดยการฝึกหัดที่ถูกต้องเหมาะสม
       ความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากการที่มีพื้นฐานความรู้ก่อน ความรู้นั้นเป็นบ่อเกิดและรากฐานของการมีความคิดใหม่ๆ ความรู้จำเป็นอย่างมาก เราควรจะรู้ให้กว้างที่สุดและลึกที่สุดในแต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ต่อให้มีความรู้มากขนาดไหนความรู้อย่างเดียวไม่ได้ทำให้เรามีความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ เพราะความคิดสร้างสรรค์ต้องได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมา เพราะความคิดสร้างสรรค์ คือ ศิลปะในการนำความฝัน จินตนาการ เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ ที่มีอยู่ซึ่งเป็นนามธรรมมาแปรสภาพเป็นสิ่งที่กลายเป็นรูปธรรม สามารถปฏิบัติได้จริง
     ความคิดสร้างสรรค์นี้เป็นความคิดในแง่บวกที่เราสามารถควบคุมได้ เป็นสิ่งที่ทำให้เราใช้สติปัญญาและความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ มาทำให้เกิดประโยชน์ได้
ความคิดสร้างสรรค์ฝึกได้ไม่ยาก
       ก่อนจะลงในรายละเอียดมากกว่านี้ ผมขออธิบายเพิ่มเติมในความเข้าใจก่อนว่ามีความสำคัญมากแค่ไหน ความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ คือ ตัวดึงเอาความรู้มาใช้ประโยชน์ได้ตามสถานการณ์ต่างๆ ถ้ามีความรู้มาก แต่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ก็ไม่สามารถนำความรู้มาใช้ได้หรือใช้ได้น้อย เปรียบเทียบได้กับคำภาษิตโบราณที่กล่าวไว้ว่า ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด เพราะไม่รู้จักใช้ความรู้นั่นเอง ตรงกันข้ามหากคนคนนั้นมีความกล้าคิด กล้าทำอย่างสร้างสรรค์ เขาก็สามารถดึงความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  เพราะฉะนั้นเราจึงควรฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์จนเป็นทักษะที่ดี เราสามารถฝึกฝนจากการอบรมทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีส่วนช่วยปรับเปลี่ยนพัฒนาบุคลิกภาพให้ดีขึ้นได้ เพราะการมีพื้นฐานทางด้านการคิดที่ดี ทำให้ การพูด การฟัง การแสดงความคิดเห็น เปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังคำที่ว่า   เปลี่ยนความคิด ชีวิตก็เปลี่ยน   การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์ อาจไม่ได้ส่งผลกับตัวเราแบบทันทีทันใด แต่เปรียบเสมือนการสร้างรากฐานในระยะยาว เช่น การลดเวลาและความขัดแย้งในการพูดคุยกับคนอื่นได้ การลดข้อบาดหมางระหว่างผู้ร่วมงาน หรือแก้ปัญหาการสื่อสารระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ให้สามารถเข้าใจกันได้มากขึ้น ก่อเกิดความสามัคคีในองค์กร หรือแม้กระทั่งการดึงศักยภาพสูงสุดของบุคลากรออกมาใช้
จากที่เคยนำแนวทางความคิดมาปฏิบัติเป็นประจำจนได้ผล ผมขอแนะนำให้เริ่ม ดังนี้
1. คิดบวกผสานคิดสร้างสรรค์ (Cresitive Thinking) เป็นหลักการที่คิดค้นขึ้นเพื่อปรับกระบวนทัศน์ หรือทัศนคติเพื่อให้สามารถ|คิดอย่างสร้างสรรค์ ด้วยการปรับพฤติกรรมที่เป็นด้านลบพร้อมๆ ไปกับการปลูกฝังเทคนิคการคิดบวก
2. การเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มนวัตกรรม (Lateral Thinking More Solution and More Innovation) การคิดสร้างสรรค์แบบ Very Creative ซึ่งเป็นเครื่องมือการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ โดยศึกษาค้นคว้าจากกระบวนการคิดของกลุ่มคนที่ชอบทำอะไรใหม่ๆ และสามารถหาทางแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ๆ ได้ ซึ่งแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ที่มักจะชอบทำอะไรซ้ำๆ และคิดอะไรแตกต่างไปจากเดิมไม่ได้ มันเป็นผลมาจากสมองของมนุษย์ เพราะโดยธรรมชาติสมองของมนุษย์จะทำหน้าที่เก็บข้อมูล จึงทำให้คนมีแนวโน้มสูงที่จะชอบทำอะไรซ้ำๆ และเมื่อได้ศึกษากระบวนการคิดของคนในกลุ่มแรก จึงพบว่าเป็นการคิดแบบตัดข้ามรูปแบบเดิมๆ โดยการนำข้อมูลหนึ่งไปเชื่อมกับอีกข้อมูลหนึ่งโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย จากนั้นจึงได้สร้างระบบการคิดเพื่อทำสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา หรือที่เรียกว่า การคิดสร้างสรรค์ ภายใต้ชื่อ Lateral Thinking และทำให้คนทั่วโลกรู้ว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ฝึก หรือเรียนกันได้กระทั่งปัจจุบัน 
Lateral Thinking เป็นการพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ ให้สามารถคิดต่อเนื่องไปได้อย่างไร้ขอบเขตไม่มีที่สิ้นสุด สามารถรับมือ และแก้ปัญหาได้ทุกรูปแบบ นอกจากการนำมาใช้แก้ปัญหาแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการวางแผนและกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่แหวกกรอบออกไปจากรูปแบบเดิม
3. คิดประสิทธิภาพ คิดสร้างสรรค์ (Edward de Bono’s Simplicity) เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เรียบง่าย ได้ผลงานออกมาก โดยลดขั้นตอนที่ต้องทำอะไรซ้ำซาก
4. คิดเป็นระบบ สื่อสารตรงประเด็น (Six Thinking Hats : Systematic Thinking & Communication) ช่วยจัดระเบียบการคิดการประมวลข้อมูล ที่สามารถทำให้การประชุม หรือการระดมความคิดเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุด
5. การตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ (Six Value Medals) ทำให้การตัดสินใจและการประเมินผลอย่างครอบคลุมและวัดผลได้อย่างชัดเจน โดยพิจารณาได้ครบทุกปัจจัย ทั้งทางตรงและทางอ้อม
วิธีการสร้างแนวความคิดสร้างสรรค์อย่างง่าย
     การหาแนวความคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมบางครั้งเรื่องของบรรยากาศก็มีส่วนในการระดมสมองที่สำคัญ เพราะฉะนั้นเนื้อหาส่วนนี้จึงเกี่ยวกับบรรยากาศในการระดมสมองที่ช่วยให้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ผุดขึ้นมาได้ ให้ทดลองเอาไปปฏิบัติ และดูว่ามัน ทำงานไหม หรือไม่ก็ใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการระดมสมองที่เราเคยทำๆกัน
1. ใช้วิดีโอเทปหรือเครื่องบันทึกเสียง(ไม่โจ่งแจ้งเกินไปจนทำให้รู้สึกเกร็ง)เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวต่างๆ เพื่อไม่ให้ไอเดียใด หลุดรอดไปได้.
2.
หรี่ไฟลงเพื่อให้บรรยากาศในห้องทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายหรือเป็นการพักผ่อน
3.
มีตุ๊กตาหรือของเล่นที่น่าสนใจเพื่อกระตุ้นไอเดียและทำให้พวกเรารู้สึกผ่อนคลาย
4.
ใช้ห้องที่อยู่นอกสำนักงานที่เราทำงานประจำเพื่อผลที่จะเกิดมาพิเศษใหม่ๆ
5.
มีห้องเตียมไว้อีกห้องเพื่อฟื้นความสดใหม่ขึ้นมา และส่งเสริมให้ผู้คนได้พบปะและพูดคุยกันในช่วงพัก
6.
ปิดสายโทรศัพท์หรือเคลื่อนย้ายมันออกไปจากห้อง จะได้ไม่มีอะไรมารบกวนหรือทำลายบรรยากาศ
7.
ปิดม่านลง หากว่าข้างนอกมันมีสิ่งรบกวนทำให้เขวไปได้
8.
เปิดเพลงเบาๆที่กระตุ้นอารมณ์ หรือลองสุ่มเพลงจาก CD สักสองแผ่น
9.
จัดให้มีหนังสือพิมพ์เก่า เทปกาว กรรไกร เชือก เพื่อว่าใครที่มีไอเดียจะทดลองสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ตามที่เขาคิด ให้เป็นรูป เป็นร่าง
10.
มีดินสอสี หรือปากกาเมจิกอยู่ทั่วๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้ทันที
11.
สร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดการหัวเราะ บรรยากาศแบบเล่นๆ มักก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆอยู่เสมอ
12.
ให้ผู้คนยืนบ้างนั่งบ้างตามความสะดวกสบาย หรือถ้าเคยนั่งประชุมก็ยืนประชุม
13.
หันหน้าออกนอกกำแพงแทนที่จะหันหน้าเข้าหากำแพง
         การสร้างบรรยากาศใหม่ๆข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า สไตล์การระดมสมองในวิธีการดังกล่าว สามารถเปลี่ยนแปลงพลิกแพลงไปได้ เพื่อทำให้มันมีชีวิตชีวา การระดมสมองคิดสร้างสรรค์ ไม่ควรเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ หรือมีรูปแบบตายตัว ลองเปลี่ยนแปลงมันไปเรื่อยๆแล้วดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นมาบ้างนะครับ