วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีที่สุดยอด


ใครจะเชื่อบ้างว่าทุกวันนี้ เทคโนโลยีได้ก้าวข้ามสิ่งที่มนุษย์คิดว่าทำไม่ได้ในสมัยก่อนหลายอย่าง จนเดี๋ยวนี้สามารถทำได้หมดทุกอย่าง เรียกได้ว่าตอบโจทย์ทางความคิดทุกรูปแบบอย่างเหนือความคาดหมาย โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารในโลกทุกวันนี้ที่ได้หมุนเข้าสู่การสื่อสารแบบไร้พรมแดนที่มีอินเทอร์เน็ตเป็นตัวเชื่อมโยง จึงทำให้นักการตลาดยุคใหม่เริ่มมีความคิดที่เปลี่ยนไปจากนักการตลาดยุคเก่า ด้วยการหันมาผลิตสินค้าขึ้นมาแล้วขายให้กับคนทั่วโลก มากกว่าการขายในระดับท้องถิ่น ในระดับประเทศ อันเป็นผลมาจากด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มคนในระดับตั้งแต่อายุ 14-40 ปี ในส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันจะใช้ชีวิตร่วมกับอินเทอร์เน็ต หรือการดำรงตนเองในโลกออนไลน์ ซึ่งโดยเฉลี่ยจะใช้งานกัน 1-2 ชั่วโมง จากผลของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารหรือในด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค ความยอดนิยม บริษัท ธอมัส ไอเดีย ระบุว่า ยังเป็นเฟซบุ๊คอยู่ที่ปัจจุบันได้มีจำนวนสมาชิกคนไทยบนเฟซบุ๊คที่มีอยู่กว่า 6.1 ล้านคน แบ่งสัดส่วนอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี ประมาณ 40% และ 25-34 ปี 35% หรือรวมแล้วมีคนไทยเข้าไปใช้งานเฟซบุ๊ค 2.2 ล้านคน ขณะที่ยูทูบอยู่ที่ 1.2 ล้านคน และทวิตเตอร์ 90,000 คนต่อวัน ซึ่งนั่นหมายถึงช่องทางการสื่อสารที่ท้าทายนักการตลาดจากข้อมูลดังกล่าว ย่อมสะท้อนและส่งสัญญาณให้เห็นว่า ในปี 2554 หรือ 2011 ทิศทางด้านการตลาดของสินค้าและธุรกิจในประเทศไทย จะเริ่มเปิดการแข่งขันในรูป “ดิจิตอลมาร์เก็ตติ้ง” ด้วยเหตุที่จำนวนประชากรบนโลกออนไลน์เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพฤติกรรมการหาข้อมูลและเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต ได้เริ่มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากอดีตมีความลังเล แต่ปัจจุบันเริ่มมีความเชื่อใจ มั่นใจมากขึ้น ในระบบการซื้อขายในรูปแบบอีคอมเมิร์ซ ที่ผู้ประกอบการได้ลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีและเครื่องมือรองรับเต็มที่ การทำตลาดยุคจากนี้ไปจะผูกติดกับเทคโนโลยีมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีจะเริ่มมีความเฉลียวฉลาด และสามารถวิเคราะห์เข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มากขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคก็เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เว็บต่างๆ บนคอมพิวเตอร์มาใช้ผ่านมือถือมากขึ้น ส่งผลให้นักการตลาดยุคใหม่จะหันมาใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นช่องทางสำคัญในการนำเสนอสินค้าเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้น ในความท้าทายเศรษฐกิจไทยปี 2554 ในโลกของตลาดออนไลน์จะประกอบด้วย 2 เทรนด์ใหญ่คือ 1. Technology และ 2. Marketing
Technology Trend เรื่องที่ 1 คือ “โทรศัพท์มือถือ” ที่ในยุคปัจจุบันกลายเป็นโทรศัพท์มือถือที่ไม่ใช่แค่การโทรเข้า-ออกอย่างเดียวเพราะภายหลังการเข้ามาบุกตลาดของไอโฟน ทำให้เกิดการเขย่าวงการมือถือให้กลายเป็นมัลติมีเดีย โฟน มากขึ้น ขณะเดียวกันประเทศไทยได้กำลังก้าวสู่ยุคแห่งการผ่องถ่ายจาก Web 2.0 มาสู่ Web 3.0 หรือ Web Metric ดังนั้น ปรากฏการณ์ที่จะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในปีข้างหน้าคือเว็บไซต์จะมีความเฉลียวฉลาดมากขึ้นสามารถรับรู้และเข้าใจในตัวผู้บริโภคมากขึ้น เรียกได้ว่า ผู้เยี่ยมชมสามารถเข้าถึงเนื้อหาของเว็บนั้นได้ดียิ่งขึ้น และเป็นเหตุที่ทำให้โลกของอินเทอร์เน็ตถูกเปลี่ยนไปให้น่าอยู่ และน่าใช้งานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ความเฉลียวฉลาดของ Web 3.0 ไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลผ่านพฤติกรรมการเข้ามาใช้ Web ของผู้บริโภคคนนั้น คนนี้เท่านั้น แต่จะวิเคราะห์ไปถึงพฤติกรรมที่เข้าไปอยู่ใน Social Network ด้วย อย่าง Facebook , Twitter ว่า ที่ผ่านมามีการโพสท์ข้อมูล หรือ Sharing กันในเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคคนนั้นโดยเฉพาะในอนาคต
เรื่องที่ 2.Social Network ก็เริ่มพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการกับผู้บริโภคมากขึ้น ตัวอย่าง Facebook ก็เปิดให้บริการใน
รูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น เช่น Facebook Message ในการบริการ Chat ส่งข้อมูลพูดคุยสื่อสารข่าวสารถึงกันและกันได้ ต่างจากเมื่อก่อนจะเป็นแค่การส่งรูป และดูภาพ ส่งคอมเม้นท์ถึงกันเท่านั้น ขณะเดียวกัน Social Network ยังได้ขยับขยายตัวเองไม่ได้อยู่แค่เฉพาะบนเว็บเท่านั้น แต่ถูกพัฒนาลงมาให้อยู่ในมือถือ และ Tablet ต่างๆ รวมไปถึงปัจจุบันนี้เริ่มมีโทรทัศน์ และรถยนต์บางรุ่นทำการฝัง Facebook ลงไปเมื่อผู้โดยสารขึ้นมาบนรถยนต์ระบบสามารถรับรู้ได้ทันทีว่า ตอนนี้มีผู้โดยสารขึ้นมานั่งบนรถยนต์แล้ว
เรื่องที่ 3. Location ซึ่ง Social Network จะเริ่มขยายขอบเขตออกไปสู่การบริการอย่างอื่นที่อยู่รอบๆ ตัวเรามากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของตำแหน่ง หรือ Location ที่บริการของ Social Network จะเข้ามีบทบาทในการจับตำแหน่งของตัวเราได้อย่างแม่นยำมากขึ้น อาทิ การบริการของ Foursquare และ Facebook Place ที่เมื่อใดได้ทำการติดตั้งลงไปบนมือถือระบบจะสามารถตรวจสอบจับตำแหน่งของเราได้อย่างแม่นยำทันที เพื่อให้เกิดการแบ่งปันไปยังกลุ่มเพื่อนๆ ของเราได้ว่าตอนนี้อยู่ไหน และกำลังทำอะไร
เรื่องที่ 4. Cloud Computing (การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ) ก็เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งแห่งโลกสารสนเทศ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจ และอยู่ในช่วงเริ่มต้น พร้อมที่จะทะยานขึ้นเป็นธุรกิจมูลค่ามหาศาลภายในชั่วระยะเวลาอันสั้น เพราะเป็นเรื่องของโครงข่ายสื่อสารข้อมูล ที่ปัจจุบันทั่วโลกกำลังมีการพัฒนาเพื่อสร้างวงจรเชื่อมต่อความเร็วสูงสำหรับรองรับข้อมูลมัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลต่างๆ ด้วยการนำเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้า (Applications) หรือ Files ทั้งหมดถูกจัดเก็บให้อยู่ใน Supercomputer ส่วนกลางขนาดใหญ่ หรือ ใน Network ความเร็วสูงด้วยกัน
เรื่องที่ 5. Augmented Realty (AR)โลกเสมือนโดยใช้มือถือต่อดู เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนารูปแบบ Human-Machine Interface ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยที่วัตถุเสมือนนั้นๆ จะถูกสร้างมาผสมกับสภาพในโลกจริงในรูป 3D และแสดงผลแบบ Real Time (โลกเสมือนผสานโลกจริง) ตัวอย่างที่เห็นตลอดช่วงปี 2553 คือเรื่องของ QR Code เพื่อต้องการทำให้เห็นถึงภาพ 3 มิติ ในหน้าจอที่มีองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมนั้นที่เกิดขึ้นจริงๆ
ในปัจจุบันนี้มิติเสมือนจริงเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราหลากหลายรูปแบบ เช่น วงการโฆษณา, สิ่งพิมพ์, สื่อสาร และการศึกษา หรือ ตัวอย่างตอนนี้ในเมืองไทยที่มีการนำ AR ใช้หลายแห่ง เช่น การค้นหาสินค้าผ่านระบบ AR ของ tarad.com เป็นการค้นหาสินค้าที่อยู่ใกล้ตัวของผู้ที่ค้นหา โดยใช้ผ่านโปรแกรม Layar ที่มีอยู่บนทั้ง iPhone และ โทรศัพท์ประเภท Android และยังมีเว็บของ upic.me ก็แสดงตำแหน่งของรูปภาพของคนถ่าย ว่าภาพต่างๆ ที่ Upload มาอยู่ที่ไหนบ้างในโลกใบนี้ ที่สำคัญเกี่ยวการสื่อสารทางเทคโนโลยีที่เป็นอุปกรณ์การนำเสนอหรือวัสดุที่ใช้ทำได้มีการพัฒนามากขึ้น โดยนำมาจากแก้วที่สามารถทำมาเป็นอุปกรณ์การสื่อสารที่มีประโยชน์ใช้ลดการใช้พลังงงานได้อย่างมาก ตอนนี้ได้มีการจำลองสร้างภาพเหมือนให้ดูแล้ว โดยทำลงบนจอแก้ว แก้วทุกที่ กระจกทุกแห่ง ที่เป็นอะไรก็ได้คล้ายจอทีวี ซึ่งทุกอย่างสามารถถ่ายเทภาพหรือข้อมูลจากทีหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างง่ายแค่เอาไปจี้ แตะ สัมผัสหรือถูกกันข้อมูลก็สามารถวิ่งไปเองได้ ตอนนั้นก็มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมเคยเห็นมา แต่นั่นก็ยังไม่พัฒนามาก ตอนนี้ได้เป็นภาพนำเสนอการใช้งานของอุปกรณ์เหล่านี้ภายในครอบครัวให้ดู ผมยอมรับเลยว่าเจ๋ง แจ๋ว สวย ใส งดงาม เยี่ยม ทันสมัยมากเท่าที่เคยดูมาสำหรับเทคโนโลยีแห่งอนาคตชิ้นนี้ เอาหล่ะผมจะไม่บอกกล่าวอะไรมากไปกว่านี้ขอให้ดูเลยดีกว่า อืม...แต่ปรากฎไฟล์ภาพดูไม่ได้ทำไงดีง่ายๆ ผมขอเล่าเองแบบรรยายให้เห็นภาพชัดๆ ในชื่อเรื่อง A Day Made of Glass... Made possible by Corning.ในเช้าอันสดใสที่ผมตื่นขึ้นมา ผมจะถูกปลุกด้วยกระจกขนาดเกือบครึ่งกำแพง เหมือนจอดีวีดีขนาดใหญ่ จากนั้นกระจกข้างขวาของเตียงก็เปิดให้แสงเข้ามาโดยปรับสภาพแสงเองจากสีดำกลายเป็นสีใส เหมือนๆ เปิดม่านเอง เมื่อลกจากเตียงก็เดินไปที่จอดีวีดีขนาดใหญ่แบนอยู่ติดกำแพงเพื่อกดเช็คข่าวเช้า เส้นทาง สภาพอากาศวันนี้ แล้วดินไปทำธุระส่วนตัวต่อที่ห้องน้ำ เมื่อไปถึงที่ห้องน้ำกระจกที่เคยส่องหน้าสามารถที่จะเป็นเหมือนจอคอมพิวเตอร์ บอกถึงว่าเมื่อคืนมีใครทิ้งอีเมล์ไว้ ถ้าอยากจะตอบกลับก็ตอบได้ด้วยการลากนิ้วไปบนกระจก ดึงเอาแป้นกดภาษาออกมายืนคีย์ตอบกลับไป ถ้าไม่ตอบก็อ่านสรุปข่าวเช้านี้ ในเรื่องอุณหภูมิ และเส้นทางจราจร เมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จก็กลับลงไปข้างล่างในห้องทานอาหารเช้า เดินผ่านไปยังบริเวณห้องครัวตรงตู้เย็นจะเห็นมีกระจกภาพติดภาพ เมื่อก่อนจะใช้แม่เหล็กติด แต่เดี๋ยวนี้ เป็นภาพดิจิตอล ที่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนกับในแฮรี่พอตเตอร์ มีการขีดเขียนเล่นบนภาพได้ด้วย คล้ายเอากระดาษไปติดบนตู้เย็นเลย แล้วมาต่อที่เตาไฟในแบบกระจกแก้วที่ไม่มีรูปเตาให้เห็น มันเป็นเพียงโต๊ะแก้วที่ดูรูปทั่วไปถ้าไม่กดที่โต๊ะแก้วนั้นก็ไม่รู้ว่านี่คือ เตาไฟฟ้าซ่อนรูป ภาพเตาวงจรทรงกลมโผ่ลภาพขึ้นมา แล้วเอาจาน กระทะไปวางได้เลย พร้อมทำกับข้าวทันที เมื่อเด็กมาถึงก็เปิดตู้เย็นและเขียนเล่นบนผนังขอบประตูตู้เย็น แล้วคุณยายของหลานก็โทรมาหา พ่อหยิบโทรศัพท์โปร่งใสขึ้นมาพูดแบบเห็นหน้ากัน 2 ทาง เมื่อคุณยายถามถึงหลานขึ้นมาพ่อก็วางโทรศัพท์ไปแตะที่โต๊ะแก้วที่มีส่วนหนึ่งของโต๊ะไม่ได้ใช้ปรุงอาหาร ภาพนั้นก็ถูกเลื่อนไปปรากฎอยู่ตรงบนโต๊ะอาหารทันที หลานๆ เห็นเข้าก็เอานิ้วขยายภาพให้ใหญ่เพื่อจะได้เห็นชัดๆ จากนั้นก็คุยกัน ซึ่งเห็นได้ว่าเรื่องราวสั้นๆ ที่ได้เล่าให้ฟังนี้ บอกได้ว่ามีแก้วตรงบริเวณไหนบริเวณนั้นสามารถเป็นที่ช่องทางการสื่อสารได้หมด แม้กระทั่งในรถยนต์ ป้ายรถเมล์ ป้ายบอกทาง ผมคิดต่อว่าในอนาคตมันน่าจะครอบคลุมไปทุกเรื่องที่ทำมาจากแก้วใสๆ นี่หล่ะเทคโนโลยีที่สุดยอดจริงๆ คราวหน้าจะพูดถึงเรื่องเทรนที่เทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น