วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

The Next Step of Creative Thinking 2


เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้เขียนตอนแรกไป และได้บอกไปว่าจะขอเขียนแทนเรื่องภาพถ่าย เพราะฉะนั้นในวันนี้ผมจึงขอร่ายต่อถึงเรื่องขั้นต่อมาของความคิดสร้างสรรค์ว่า เขาทำอย่างไร? เกี่ยวกับเทคนิคความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำในงาน เรื่องไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นมา เมื่อมีไอเดียตั้งแต่สองไอเดียขึ้นไปบังเอิญหรือตั้งใจให้มันมาผสมกัน อย่างที่มันไม่เคยรวมตัวกันมาก่อน เทคนิคการใช้ความคิดสร้างสรรค์จะเป็นการจัดหาวิธีการเพื่อรวมไอเดียทั้งหลายเข้าด้วยกันอย่างประณีต ซึ่งตามปกติเราไม่เคยคิดข้ามไอเดียพวกนั้นมาก่อนหรือคิดถึงมันว่าจะเป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตามความยุ่งยากประการแรกที่เกิดขึ้นมาก็ คือ จะหาทางให้ไอเดียนั้นๆ ผสมกันได้อย่างไร และข้อยุ่งยากประการที่สอง คือ จะพัฒนาไอเดียใหม่นั้นให้มันใช้การได้ได้อย่างไร

ข้อยุ่งยากประการแรกจะถูกช่วยเหลือได้ โดยการใช้เทคนิคความคิดสร้างสรรค์อย่างตั้งอกตั้งใจ เพื่อมุ่งทำให้ไอเดียใหม่เหล่านั้น มันผสมกันได้ การที่คอมพิวเตอร์มิได้รับอิทธิพลใดๆ จากมนุษย์ มันจึงเป็นเพื่อนคู่ใจที่สมบูรณ์สำหรับการจัดหาไอเดียต่างๆ ซึ่งเราไม่เคยคิดผสมกันมาก่อนมารวมมันเข้าด้วยกัน เทคนิคความคิดสร้างสรรค์แบบนี้ถูกนำมาใช้ เพื่อน้อมนำไอเดียต่างๆ ซึ่งมนุษย์ไม่เคยได้คิดรวมกัน เพราะมนุษย์มีข้อจำกัดของตนเองเกี่ยวกับประสบการณ์บนโลกนี้กันทุกคน และมนุษย์มีเงื่อนไขความตีบตันด้วย การะดมสมองในอดีตทำให้เราเชื่อมั่นว่า คนอื่นๆก็เพียงพอแล้วสำหรับการกระตุ้นสนับสนุนเราให้คิดในหนทางที่แตกต่าง แต่อันที่จริงนั้นยังไม่พอ และสามารถทำให้เราต้องเผชิญหน้าหรือต่อสู้กับความคิดต้นตออันนั้น หรือถ้าเผื่อว่า เราระดมสมองกับผู้คนที่เราทำงานด้วยเสมอๆ เป็นไปได้ที่เราจะได้ไอเดียเก่าๆ ทั้งนี้เพราะเรารู้แล้ว เกี่ยวกับ…และทำงานร่วมกับ ไอเดียเดิมๆ มากมาย และก็มีประสบการณ์ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันมากไป ดังนั้น การระดมสมองแบบแผนเดิม จึงเป็นไปได้ที่เราจะไม่ได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ กับคนเดิมๆที่ทำงานร่วมกัน และแต่ละคนก็มีแรงกระตุ้นแบบเดิมๆเป็นข้อจำกัด

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับความก้าวหน้าในการระดมสมอง คอมพิวเตอร์จะไม่มีแนวคิดล่วงหน้า(not have the pre-conceptions)หรือมีอคติ ซึ่งจะทำให้เราเป็นคนที่มีความสามารถ พิเศษ ในฐานะนักจัดหาหรือเตรียมการเกี่ยวกับแรงกระตุ้นใหม่ๆ ที่แตกต่างและจะจุดประกายไอเดียใหม่ๆให้ปะทุขึ้นมา แม้ว่าไอเดียใหม่ๆมันจะไม่มีคุณค่าขึ้นมาทันทีในเวลานี้ แต่การเกิดขึ้นมาของความคิดใหม่ เป็นสิ่งสำคัญ ในการระดมสมองพวกนั้น ถ้าเราเก็บเอาไว้ มันก็จะเป็นประโยชน์ต่อมาได้ในภายหลัง หากว่ามันมีคุณค่าสำหรับเราจริงๆ

ทีนี้อะไรคือเทคนิคความคิดสร้างสรรค์ ที่จะนำมาใช้ได้บ้าง ?
เทคนิคการได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ข้างล่างนี้ เราจะต้องฝึกเอาไว้เสมอ ทั้งหมดนี้จะนำเสนอแรงกระตุ้นใหม่ๆ สดๆ ให้กับ ความคิดใหม่ๆของเราได้ เราสามารถที่จะนำมันมาใช้ในการระดมสมองเพื่อให้กำเนิดไอเดียที่แปลแตกต่างอย่างง่ายๆ

Random Word (การสุ่มคำ)
Random Picture (การสุ่มด้วยภาพ)
False Rules (กฎเกณฑ์ที่ผิดพลาด)
Random Website (การสุ่มเว็บไซต์)
Scamper (กระโดดโลดเต้น หรือการเล่น)
Search & Reapply (ค้นหาและลองประยุกต์ใหม่)
Challenge Facts (ท้าทายข้อเท็จจริง)
Escape (หลบหนี หลบเลี่ยง)
Analogy (การอุปมาอุปมัย)
Wishful Thinking (ความคิดให้สมปรารถนา)
Thesaurus (ใช้พจนานุกรมศัพท์คำพ้อง)


วิธีการฆ่าความคิดและวิธีการส่งเสริมความคิด
เป็นเรื่องง่ายมากที่จะฆ่าความคิดยิ่งกว่าการสนับสนุนความคิด และเปลี่ยนมันให้เป็นทางออก หรือวิธีการแก้ปัญหา อันเป็นประโยชน์ให้เราระมัดระวัง อย่าไปทำลายไอเดียของผู้คน หรือทำให้พวกเขาหยุดที่จะบอกอะไรกับเรา และพูดคุยกับคนอื่นๆเป็นเรื่องยากมากจริงๆ ที่จะรับฟังเรื่องเกี่ยวกับไอเดียความคิดเห็นต่างๆ เมื่อใครบางคนบอกกับเราเกี่ยวกับความคิดอันหนึ่งที่เขามี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากว่า ไอเดียอันนั้นดูเหมือนว่า จะฟังดูโง่ๆ และไม่ทำงาน(ไม่ได้เรื่อง)แต่จำไว้เสมอว่า โดยทั่วไปแล้วผู้คนไม่ปรารถนาที่จะนำเสนอไอเดียที่เลวๆ ในภาวะปกติ และเราควรจะพยายาม ทำความเข้าใจเป็นอันดับแรกเลยว่า ทำไมพวกเขาจึงบอกกับเราเกี่ยวกับความคิดอันนั้น เป็นไปได้ที่บางสิ่งบางอย่างในไอเดียนั้น จะเป็นประโยชน์กับเรา และในอีกทางหนึ่ง เราจะมีโอกาสที่จะช่วยเหลือเขาให้เข้าใจว่า ทำไมความคิดอันนั้น มันจึงไม่ทำงาน

วิธีการหาไอเดีย ด้วยคำพูดของเราเองบางอย่าง

1. ที่เสนอมานั้นมันเป็นความคิดที่ดี แต่…(หรือ) ในทางทฤษฎีนั้นมันฟังดูดี แต่…
2. ในทางปฏิบัติ ความคิดนั้นมันดูเป็นเรื่องของอนาคตมากเกินไป
3. โอ้...ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการ(ชอบ)มันหรอก
4. ที่เสนอมานั้น ต้นทุนสูงเกินไป (หรือ) ไม่มีงบประมาณแล้ว บางทีอาจรอไปปีหน้า
5. ไม่ต้องเริ่มต้นอะไรใหม่อีกแล้ว (หรือ) เราโต้เถียงกันมากไปแล้ว
6. ที่พูดมามันต้องศึกษาเพิ่มเติมมากกว่านี้ (หรือ) เรื่องนี้ขอให้เราไปสำรวจมาก่อน
7. อันนี้สวนกันกับนโยบายบริษัท(หรือ องค์กร)ของเรา
8. ที่พูดมานั้น มันไม่ได้เป็นงานในหน้าที่รับผิดชอบของคุณ
9. นั่นมันไม่เป็นปัญหาสำหรับเรา
10. เรื่องนี้ยากมากต่อการจัดการ (หรือ) เราไม่เคยทำแบบนั้นมาก่อนเลย
11. ถ้ามันดีมาก ทำไมจึงไม่มีใครเสนอมันไปแล้วล่ะ
12. ถึงต่อไปข้างหน้า ผู้คนก็จะยังไม่พร้อมสำหรับมันอยู่ดี
13. นั่งลงก่อน พักสักครู่
14. มีใครแล้วบ้างที่พยายามทำมันจนสำเร็จขึ้นมา
15. เราเคยทำมาแล้ว แต่มันไม่ทำงาน(ไม่ได้เรื่อง)

คำพูดต่างๆเหล่านี้ มักจะไปตัดทอนโอกาสในการแสดงความคิดหรือการเสนอไอเดียของคนอื่นๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดบรรยากาศของการสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ดังนั้น จงตรองดูว่า สิ่งที่จะพูดไปนั้นจะไปตัดทอนความคิดหรือไอเดียของคนอื่นหรือไม่ ?

หนทางที่สนับสนุนไอเดีย
1. ใช่ และ…(พูดสนับสนุน) ดูมันน่าตื่นเต้นและน่าสนใจมาก
2. ฟังและพยายามทำความเข้าใจว่า ทำไมมันจึงถูกนำเสนอ
3. อย่าไปขัดจังหวะ จนกว่าเขาจะเสนอจนจบ ปล่อยให้พวกเขาก่อรูปไอเดียขึ้นมา
4. นั่นเป็นไอเดียที่ดี หรือประเด็นสำคัญ ข้อคิดเห็นที่เยี่ยม ว่าต่อ…
5. ยอดมาก พยายามต่อไป…
6. ต้องการทรัพยากรใดบ้าง ที่ต้องใช้ในการทำมันขึ้นมา
7. ที่เสนอมา เราสามารถทำให้มันทำงานได้อย่างไร ช่วยเล่าให้ฟังต่อหน่อยซิ
8. ให้พยายามและทดสอบมันดู
9. ที่เสนอมานั้น ทำให้มันเป็นแผนในเชิงปฏิบัติเลยได้ไหม ?
10. อะไรที่ผมสามารถช่วยได้สำหรับการทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นมาได้
11. สิ่งที่ฟังดูเป็นเพียงส่วนเล็กๆของไอเดีย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีในสถานการณ์ปัจจุบัน
12. ทำอย่างไร เราจึงจะชักจูงคนอื่นๆให้เชื่อมั่นได้


ข้างต้นนี้หวังว่า เราจะเห็นถึงหนทางต่างๆอันมากมายซึ่งสามารถที่จะช่วยสร้างไอเดียความคิดขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เป็นการส่งเสริมสนับสนุนไอเดียความคิด โดยไม่ต้องกล่าวคำว่าเห็นด้วย หรือว่าเราจะทำมัน เพียงแต่ระมัดระวังอยู่เสมอสำหรับตัวของเราเองที่จะเสนอไอเดียอันหนึ่งลงมาเร็วเกินไป โดยไม่เข้าใจเหตุผลในเชิงบวกต่างๆสำหรับการที่มันถูกนำเสนอ

ไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับบรรยากาศในการระดมสมอง
เนื้อที่ส่วนนี้อุทิศให้กับบรรยากาศในการระดมสมองที่ช่วยให้ความคิดใหม่ๆผุดขึ้นมาได้ ทดลองเอาไปปฏิบัติ และดูว่ามัน ทำงาน ไหม หรือไม่ก็ใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการระดมสมองที่เราเคยทำๆกัน

1. ใช้วิดีโอเทปหรือเครื่องบันทึกเสียง(ไม่โจ่งแจ้งเกินไปจนทำให้รู้สึกเกร็ง)เพื่อเก็บบันทึกเรื่องราวต่างๆ เพื่อไม่ให้ไอเดียใด หลุดรอดไปได้
2. หรี่ไฟลงเพื่อให้บรรยากาศในห้องทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายหรือเป็นการพักผ่อน
3. มีตุ๊กตาหรือของเล่นที่น่าสนใจเพื่อกระตุ้นไอเดียและทำให้พวกเรารู้สึกผ่อนคลาย
4. ใช้ห้องที่อยู่นอกสำนักงานที่เราทำงานประจำเพื่อผลที่จะเกิดมาพิเศษใหม่ๆ
5. มีห้องเตียมไว้อีกห้องเพื่อฟื้นความสดใหม่ขึ้นมา และส่งเสริมให้ผู้คนได้พบปะและพูดคุยกันในช่วงพัก
6. ปิดสายโทรศัพท์หรือเคลื่อนย้ายมันออกไปจากห้อง จะได้ไม่มีอะไรมารบกวนหรือทำลายบรรยากาศ
7. ปิดม่านลง หากว่าข้างนอกมันมีสิ่งรบกวนทำให้เขวไปได้
8. เปิดเพลงเบาๆที่กระตุ้นอารมณ์ หรือลองสุ่มเพลงจาก CD สักสองแผ่น
9. จัดให้มีหนังสือพิมพ์เก่า เทปกาว กรรไกร เชือก เพื่อว่าใครที่มีไอเดียจะทดลองสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ตามที่เขาคิด ให้เป็นรูป เป็นร่าง
10. มีดินสอสี หรือปากกาเมจิกอยู่ทั่วๆ เพื่อให้ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้ทันที
11. สร้างบรรยากาศที่ทำให้เกิดการหัวเราะ บรรยากาศแบบเล่นๆ มักก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆอยู่เสมอ
12. ให้ผู้คนยืนบ้างนั่งบ้างตามความสะดวกสบาย หรือถ้าเคยนั่งประชุมก็ยืนประชุม
13. หันหน้าออกนอกกำแพงแทนที่จะหันหน้าเข้าหากำแพง


ผมชอบมากสำหรับการการสร้างบรรยากาศใหม่ๆข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า สไตล์การระดมสมองและเทคนิคดังกล่าว สามารถเปลี่ยนแปลงพลิกแพลงไปได้ เพื่อทำให้มันมีชีวิตชีวา การระดมสมองไม่ควรเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ หรือมีรูปแบบตายตัว ให้ลองเปลี่ยนแปลงมันไปเรื่อยๆแล้วดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง โปรดติดตามตอนสุดท้ายอาทิตย์หน้าครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น