วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ดาวินชี กับ สมอง


มาอีกแล้วเกี่ยวกับสมอง แต่คราวนี้เป็นเรื่องของสมอง Leonardo Davinci ที่ไว้ใช้ในงานบริหารทุกคนรู้ว่า ลีโอนาร์โด ดาวิชี เป็นอัฉริยะบุคคล แต่มีไม่กี่คนที่รู้เคล็ดลับของเขา รหัสนิยายขายดีของ แดน บราวน์ เรื่อง "รหัสลับดาวินชี" ช่วยสร้างเงินล้านให้ผู้เขียน และสำนักพิมพ์ในเมืองไทยที่นำผลงานแปลมาตีพิมพ์ ขายดี พิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก แดน บราวน์ให้ ศ. โรเบิร์ต แลงดอน และ นักสืบสาว โซฟี เนอเวอ เป็นตัวเดินเรื่องไขรหัสลับของอัฉริยะผู้นี้ จนคนอ่านทั่งโลกติดจนแทบจะวางหนังสือไม่ลง ผู้เขียนเคยเห็นอิทธิผลของหนังสือเล่มนี้มากับตา เมื่อเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการกับอาจารย์ ไอกาวา ต้นปีที่แล้ว ผู้เข้ารับการอบรมคนหนึ่ง นั่งฟังไปพลางอ่านหนั้งสือเล่มนี้ไปพลางตลอดการอบรมสองวัน รวมทั้งตอนพักรับประทานอาหารกลางวันด้วย ! แต่ "รหัสลับดาวินชี" ที่แดน บราวน์เขียนไว้ตั้งแต่ปีต้น 2546 คงจะเป็นประโยชน์ต่อนักบริหารน้อยเหลือเกิน เพราะเรื่องทางศาสนาเสียเป็นส่วนใหญ่ ห้าปีก่อนหน้านั้น ไมเคิล เกล์บ ลูกศิษฐ์ของ โทนี บูซาน ต้นตำรับ Mind Map ได้เขียนหนังสือที่สร้างความฮือฮาในวงการ หนังสือสารดคี ติดอันดับ Best seller ประเภท Non-friction ในปี 2541 และ 2542 ทั้งในยุโรปและอเมริการ ไมเคิล เกล์บ เป็นนักเขียนและนักฝึกอบรมชั้นนำชาวอเมริกัน นอกจากจะจัด Mind Mapping Workshop ในสรัฐ ฯ แล้วเขายังบรรยายในยุโรปเป็นประจำอีกด้วย


ขณะที่ ศ. โรเบิร์ต แลงดอน แก้ปมฆาตกรรม ณาคส์ โชนิแยร์ ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑสถานลูฟร์เป็นจำนวนกว่า 500 หน้า ไมเคิล เกล์บสามารถถอดรหัสความเป็นอัจฉริยะของดาวินชีได้เป็นจำนวนเพียง 300 เศษเท่านั้น ไมเคิล เกล์บถอด "รหัสลับดาวินชี" ในมุมมองของนักฝึกอบรม ไม่ใช่นักเขียนนิยายสืบสวน ดังนั้น รหัสลับที่ถอดออกมา จึงใช้ในการฝึกอบรม หรือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและทีมงาน เขาได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน "นักฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยใหม่" หรือ The New Renaissance

นักฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยใหม่
ไมเคิล เกล์บพูดถึง "นักฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยใหม่"หรืออีกนัยหนึ่ง "คนที่เป็นสากล" ว่า อุดมคติของนักฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยใหม่ไม่ว่าชายหรือหญิง บ่งบอกถึงคุณลักษณะของคนที่ปรับตัวได้อย่างกลมกลืนและมีความสมดุลย์ เป็นสุขกับทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่เกิดขึ้นสะท้อนอุดมคตินี้ ในยุคที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมีมากขึ้น การที่จะบรรลุสภาวะความสมดุลย์ได้นั้นจะต้องรู้จักมองในมุมกลับ นอกเหนือจากมีความรู้ทางด้านศิลปศาสตร์เป็นอย่างดีแล้ว คนที่เป็นสากลสมัยใหม่ ต้องมีคุณสมบัติอื่น ๆ ดังนี้ มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี อาจจะมีปัญหาในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่นักฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยใหม่ไม่ว่าชายหรือหญิง ต้องปรับตัวให้ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น การคิดเป็นความรู้เกี่ยวกับสมองของเรา 95 % เพิ่งค้นพบกันในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โทนี บูซาน นิยามการคิดเป็น คือความเข้าใจในเรื่องการทำงานของความคิดมนุษย์ เริ่มจากการทำความเข้าใจในศักยภาพอันมหาศาลของสมองและความซับซ้อนของเชาวน์ปัญญา รวมทั้งการพัฒนาการเรียนรู้ที่รวดเร็วขึ้นและทักษะในการคิดเชิงสร้างสรรค์ โลกของความแตกต่าง นอกเหนือจากความเข้าใจในเรื่องการเชื่อมโยงกันของโลกทางการสื่อสาร เศรษฐกิจและระบบนิเวศน์แล้ว นักฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยใหม่ต้องอยู่อย่างเป็นสุขกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ พวกเขามองว่าลัทธิการเหยียดผิว การกดขี่ทางเพศ ความขัดแย้งทางศาสนา การรักร่วมเพศและลัทธิชาตินิยมเป็นร่องรอยของวิวัฒนาการที่ตกทอดมาจากยุคบรรพกาล นักฟื้นฟูศิลปวิทยาสมัยใหม่ในตะวันตกมีความซาบซึ้งเป็นพิเศษต่อทั้งวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก

หลัก 7 ประการของดาวินชี บอกไว้ประมาณนี้
หลักเจ็ดประการที่ไมเคิล เกล์บถอดรหัสมาจากการศึกษาชีวิตของดาวิชีอย่างละเอียด มีดังนี้
1. Curiositá (กูริโยสิต้ะ)ความกระหายใคร่รู้ต่อชีวิตและการแสวงหาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

2. Dimonstrazione (ดิมอสตรัสสิโยเน)พันธกรณีที่จะต้องทดสอบความรู้โดยการทดลองปฏิบัติ ความเพียรพยายามอย่างไม่ลดละและรักที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด

3. Sensazione (เซนซาซิโยเน)การฝึกฝนอย่างต่อเนื่องให้ประสาทสัมผัสตื่นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเห็น เป็นวิถีทางสร้างประสบการณ์ให้มีชีวิตชีวา

4. Sfumato (สฟูมาโต)การเปิดใจยอมรับความคลุมเครือ ลักษณะขัดแย้งกันและความไม่แน่นอน

5. Arte/Scienza (อาร์เต / แชนซา)การพัฒนาสภาวะความสมดุลย์ระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะ ตรรกะและจินตนาการ การคิดแบบ "ใช้สมองทุกส่วน"

6. Corporalita (กอร์โปราลิต้ะ)การฝึกฝนเพื่อความสง่างาม ความถนัดของมือทั้งสองข้าง ความสมบูรณ์ของร่างกาย และท่วงท่า

7. Connessione (กอนเนสสิโยเน)การยอมรับและชื่นชมต่อการเชื่อมโยงระหว่างกันของสรรพสิ่งและปรากฎการณ์ การคิดอย่างเป็นระบบ
ทีนี้ผมขอขยายความเพิ่มเติมให้ในแต่ละหัวข้อที่บอกไปข้างต้น
1. CURIOSITÁ
นวัตกรรมทางธุรกิจส่วนมากได้รับแรงบันดาลใจจากคำถาม "อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า……?" เศรษฐกิจนับหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐในหุบเขาซิลิคอน (Silicon Valley) ได้รับแรงบันดาลใจส่วนใหญ่จากคำถามที่ว่า "อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราย่อแผงวงจรคอมพิวเตอร์ให้เล็กลง ?" ความคิดเพี้ยน ๆ ที่เสนอให้ส่วนลดเพื่อเป็นสิ่งจูงใจในการขายเกิดจากคำถาม "อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราจ่ายให้ลูกค้าของเราเพื่อให้ซื้อมัน ?" คำถามประเภท "อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า……" จะกระตุ้นจินตนาการของคุณและปรับเปลี่ยนทัศนะของคุณ นึกถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไรก็ได้ที่คุณอาจนำเสนอและถามว่า อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า… ย่อให้เล็กลง ขยายให้ใหญ่ขึ้น ทำให้เบาลง ทำให้หนักขึ้น เปลี่ยนรูปทรงมัน สลับที่กัน ขันให้แน่น คลายให้หลวม เพิ่มบางอย่าง ลดบางอย่าง ใช้ชิ้นส่วนแทนกัน เปิดตลอด 24 ชั่วโมง รับประกัน เปลี่ยนชื่อใหม่ ทำให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แข็งแรงกว่า อ่อนแอกว่า นุ่มกว่า กระด้างกว่า พกพาได้ เคลื่อนที่ไม่ได้ ขึ้นราคาเป็นสองเท่า หรือจ่ายให้ลูกค้าเพื่อให้ซื้อมัน? คนที่มีความสุขที่สุดในโลกจะถามว่า "อะไรจะเกิดขึ้น ถ้าได้ค่าจ้างจากการทำในสิ่งที่ตนรัก?"

2. DIMOSTRAZIONE
ผู้บริหารระดับสูงมักจะชี้ให้เห็นว่าการมองข้ามประสบการณ์ของตนเองสาเหตุหลักของการตัดสินใจที่แย่ที่สุดของเขา นักธุรกิจมักปล่อยให้ดุลยพินิจจากประสบการณ์ที่ดีกว่า ถูกครอบงำโดยบรรดานักวิเคราะห์ ทนายความและนักวิชาการ มาร์ก แมคคอร์แมซ์ค ผู้ก่อตั้ง International Management Group และเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง "What They Don't Teach You at Harvard Business School" กล่าวถึงข้อจำกัดของกรอบที่กำหนดความคิด ซึ่งอาจเกิดจากการฝึกอบรมทางวิชาการว่า "มหาบัณฑิตทางด้านธุรกิจ (MBA) บางครั้งก็อาจปิดกั้นความสามารถในการใช้ประสบการณ์ให้เกิดประโยชน์ เราว่าจ้าง MBA มาหลายคนที่ ถ้าไม่ไร้เดียงสามาตั้งแต่เกิด ก็ตกเป็นเหยื่อของการฝึกอบรมทางธุรกิจของ ผลลัพธ์ก็คือการขาดความสามารถในการเรียนรู้จากชีวิตจริง อ่านใจผู้คนไม่ได้อย่างถูกต้อง หรือปล่อยตัวไปตามสถานการณ์ และเก่งแต่เรื่องสร้างการรับรู้อย่างผิด ๆ " ผู้บริหารชั้นแนวหน้ารู้เช่นเดียวกับลีโอนาร์โดว่า "ประสบการณ์คือ หัวใจของปัญญา"

3. SENSAZIONE
ลีโอนาร์โดเน้นความสำคัญของการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้นอย่างสุนทรีย์ เขาเข้าใจว่าความรู้สึกประทับใจที่ได้รับจากสภาพแวดล้อมในชีวิตประจำวันของเราเป็นเสมือนอาหารสมองอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม คนส่วนมากในโลกธุรกิจกลับประสบกับภาวะทุโภชนาทางสติปัญญา เพราะความรู้สึกประทับใจเกิดจากการรับเอา "อาหารสมองที่ไร้คุณค่า" เป็นประจำ สถานประกอบการของพวกเรามักจะเหมือนหน่วยงานราชการ โรงพยาบาล โรงเรียนและคุกตะราง มีลักษณะเป็นห้องแคบ ๆ ทาสีผนังพื้น ๆ และใช้แสงสว่างจากหลอดเรืองแสง ทำให้รู้สึกกังขาว่า การออกแบบที่อยู่บนสมมติฐานที่ขาดการกระตุ้นความรู้สึกเช่นนี้จะทำให้ผลิตภาพดีขึ้นได้หรือ ?

4. SFUMATO
สมาคมการจัดการแห่งอเมริกา เคยตีพิมพ์ผลการศึกษาเมื่อเกือบ 30 ปีก่อนว่า ผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จที่สุด ถูกจำแแนกโดย "ความอดทนสูงต่อความกำกวม และทักษะการตัดสินใจโดยการเห็นแจ้ง" ปัจจุบันนี้ เมื่อความเปลี่ยนแปลงเร่งเร็วขึ้น ลำพัง "ความอดทน" ต่อความกำกวม ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ต้องยอมรับและเห็นคุณค่าของความกำกวม ศ. เวสตัน อกอร์ รายงานการศึกษาใน The Logic of Intuitive Decision - Making ว่าผลการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงอย่างครอบคลุมชี้ว่า การที่พวกเขาไม่ให้ความสำคัญกับการเห็นแจ้งของพวกเขาเอง เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดทีทำให้ตัดสินใจที่ผิดพลาด เมื่อเราเริ่มต้นศตวรรษที่ 21 ข้อมูลข่าวสาร คุกคามจนแทบจะครอบงำเราด้วยปริมาณอย่างเห็นได้ชัด การเห็นแจ้งจึงมีความสำคัญมากยิ่งกว่าที่ผ่านมาถึงที่สุดแล้ว: ต้องยอมรับความกำกวมและไว้วางใจกึ๋นของคุณ

5. ARTE/SCIENZA
เนด เฮอรมันน์ ผู้ก่อตั้ง Whole Brain Corporation ได้พัฒนาการทดสอบที่ใช้ในการวัดความถนัดของสมอง ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เขาได้แยกคนที่ทดสอบแล้วว่า"ถนัดสมองซีกซ้าย"และ"ถนัดสมองซีกขวา" ออกจากกันและมอบหมายงานพิเศษให้ทำโดยให้เวลาสองชั่วโมง กลุ่มที่ถนัดสมองซีกซ้ายส่งงานตรงเวลา ทำรายงานที่พิมพ์มาเสร็จเรียบร้อย ตัว i มีจุดและตัว t มีขีดทุกตัว จัดระเบียบอย่างสวยงาม แต่รายงานของพวกเขาช่างน่าเบื่อและไม่ดลใจเอาเสียเลย กลุ่มที่ถนัดสมองซีกขวามัวแต่ถกเถียงกันเรื่องความหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย พวกเขาส่งงานต่างเวลาออกไปพร้อมความคิดที่ขูดขีดอยู่บนเศษกระดาษ ไม่มีระเบียบและส่วนมากใช้การไม่ได้ จากนั้น ทั้งสองกลุ่มถูกรวมเข้าเป็นกลุ่มเดียวกันโดยมีผู้ประสานงานคอยชี้แนะขณะที่พวกเขาทำงานที่ได้รับมอบหมายอีกชิ้น พวกเขาส่งงานตรงเวลาพร้อมผลงานที่มีความสมดุล มีระเบียบและสร้างสรรค์ บทเรียนที่ได้รับ : ประสิทธิผลจะเกิดขึ้นได้ต้องมีทีมงานที่สมองมีดุลยภาพ

6. CORPORATION
คำว่า corporation มีรากศัพท์มาจากคำว่า corpus หมายถึง "ร่างกาย" ร่างกายของบริษัทส่วนใหญ่แข็งทื่อและถูกครอบงำโดยนิสัยที่ไม่รู้ตัวจนเกินไป ตัวอย่างเช่น ในการประชุมและการระดมสมองจำนวนมาก ผู้เข้าประชุมจะนั่งกันนานเป็นชั่วโมง อยู่ในอิริยาบถเดียวไม่มากก็น้อย พยายามระดมความคิดใหม่ ๆ และแก้ปัญหา แต่ในที่สุดพวกเขากลับฉงนว่า "ทำไมถึงคิดไม่ออก ?" องค์การหลายแห่งเริ่มจัดให้มีชั้นเรียนที่เรื่อง การนั่งนวด โยคะและ ไอคิโด เพื่อช่วยให้พนักงานมีความยืดหยุ่นทางร่างกายและจิตใจมากขึ้น นอกเหนือจากศาสตร์ดังกล่าวแล้ว คุณยังลองทำแบบฝึกปฏิบัติต่อไปนี้ เพื่อทำให้การประชุมและการระดมสมองครั้งต่อไปของคุณมีชีวิตชีวาขึ้น (ถ้าอยู่ตามลำพัง คุณสามารถทำหน้ากระจก) จุดมุ่งหมายอยู่ที่การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในรูปแบบใหม่และในเวลาเดียวกัน แบบฝึกปฏิบัติจะนำคุณไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาวะของกาย-จิตที่เคยติดเป็นนิสัยโดยใช้การเคลื่อนไหวในแบบที่คุณไม่เคยทำมาก่อนเลย

7. CONNESSIONE
ขบวนการสร้าง "องค์การแห่งการเรียนรู้" และ "คุณภาพแบบทั่วทั้งองค์กร" เป็นความพยายามอย่างหนึ่งที่จะประยุกต์การคิดแบบ Connessione กับองค์การ Peter Senge ผู้เขียนหนังสือ The Fifth Discipline : The Art and Practice of the Learning Organization เน้นว่า ความซับซ้อนของระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้จำเป็นต้องฝึกฝน "....ศาสตร์เพื่อให้เห็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน....กรอบเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมากกว่าวัตถุสิ่งของ เพื่อให้เห็นรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงมากกว่าภาพนิ่ง" เขาเสริมโดยใช้สำนวนแบบดา วินชีว่า "สภาวะของความเป็นจริง เป็นวงกลมแต่เรากลับเห็นเป็นเส้นตรง" คุณสามารถเสริมสร้างการรับรู้วงกลมและความเป็นผู้นำเพื่อสร้าง "องค์การแห่งการเรียนรู้" ด้วยการประยุกต์หลักการ Connessione มาใช้กับองค์การที่คุณมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วย เลือกองค์การสักแห่งแล้วถามคำถามอย่างเดียวกันเหมือนในแบบฝึกปฏิบัติ "พลวัตครอบครัว" (ถ้าคุณเลือกองค์การใหญ่ ๆ คุณสามารถใช้ "ฝ่าย" "คณะทำงานเฉพาะกิจ" หรือ "หน่วยธุรกิจ" แทน "บุคคล" ได้) จากนั้น ทดลองด้วยการวาดแผนภาพที่แสดงให้เห็นพลวัตระบบขององค์การ ในท้ายที่สุด พิจารณาดูองค์กรหรือบริษัทของคุณจากแง่มุมของคำถามที่เกี่ยวกับการอุปมาอุปไมยร่างกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น